หลักสูตร ปริญญาโทออนไลน์
การแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล
วิชาเอกวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)
Master of Science Program in Digital Business Transformation (หลักสูตรออนไลน์)

DS

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล)

Master of Science (Digital Business Transformation)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล)
Master of Science (Digital Business Transformation)
วิชาเอก วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) (หลักสูตรออนไลน์) มีความร่วมมือกับบริษัท SkillLane ด้านการดูแลระบบ

แนะนำหลักสูตร

          ท่ามกลางกระแสการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Innovation) ที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง แบบก้าวกระโดด (Exponential Change) นั้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมต่าง ๆ ในการดําเนินชีวิตประจําวันของผู้คน รวมไปถึงพฤติกรรมและความคาดหวังต่อการดําเนินงานของธุรกิจต่างๆ ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ส่งผลให้วิธีการดําเนินธุรกิจเหล่านั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับความต้องการและความคาดหวังที่หลากหลายด้วยเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ส่งผลกระทบกับธุรกิจในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในภาคการผลิต ภาคการบริการ หรือแม้กระทั่งภาครัฐ หากธุรกิจใดที่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ย่อมจะส่งผลเสียทั้งในเรื่องของความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการทํากําไร หรือในท้ายที่สุด อาจส่งผลถึงความอยู่รอดของธุรกิจนั้น ๆ รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นความสําคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล จึงได้มีการประกาศนโยบาย เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เพื่อรองรับการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลและเตรียมความ พร้อมให้กับประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีศักยภาพพร้อมรองรับการแข่งขันในโลกการพัฒนาปัจจุบันและเตรียมความพร้อมเข้าสู่การแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน (AEC) โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน โดยภาครัฐได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจดิจิทัลว่า เป็นเศรษฐกิจภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ ที่มีรากฐานและการขับเคลื่อน ผลักดันจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารและโดยผู้มีผลประโยชน์ร่วม ที่ผลักดันให้ประเทศ รัฐบาล และเอกชน มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี มีมาตรฐานจากการใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มและศักยภาพการแข่งขันในระดับสากล และเพื่อการขับเคลื่อนทุกมิติของเป้าหมายของเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การผลิต และการบริการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลหากสามารถนํามาใช้อย่างสร้างสรรค์ จะเป็นกลไกที่สําคัญของ ภาครัฐในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยภาครัฐสามารถที่จะให้บริการพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นด้าน สุขภาพ การศึกษา หรือความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยอาศัยนวัตกรรมดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการ เพิ่มประสิทธิภาพการทํางานที่เป็นระบบและการเชื่อมโยงประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทํางานร่วมกัน สําหรับภาคเอกชนนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกลไกสําคัญในการเสริมสร้าง ประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดําเนินธุรกิจที่ตอบสนองต่อวิถีการดําเนินชีวิตที่ เปลี่ยนไป รวมไปถึงโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ

          จากแนวทางการพัฒนาประเทศโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และความสําเร็จขององค์กรต่าง ๆ ที่สามารถนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ในประเทศจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการ ดําเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า การเพิ่มประสิทธิภาพ กระบวนการหลัก การใช้นวัตกรรมดิจิทัลในการสร้างโมเดลใหม่ๆทางธุรกิจ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่มี ลักษณะเป็น Big Data ด้วยตัวแบบทางสถิติขั้นสูงเพื่อให้ได้มาซึ่งภาพนิทัศน์ (Visualization) ที่สามารถ นํามาใช้ตัดสินใจในทางธุรกิจได้ แต่ว่าการปรับเปลี่ยนธุรกิจหรือการสร้างธุรกิจใหม่ในรูปแบบดิจิทัลนั้น ไม่ใช่ เป็นเพียงแค่การซื้อเทคโนโลยีทางดิจิทัลเข้ามาแล้วหวังว่าเทคโนโลยีนั้นจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การดําเนินงานของธุรกิจได้ การที่องค์กรจะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลได้อย่าง มีประสิทธิภาพหรือที่เรียกว่าองค์กรที่เป็น Digital Master นั้น องค์กรจะต้องสามารถที่จะสร้างศักยภาพ ทางดิจิทัล (Digital Capability) รวมไปถึงการที่ผู้บริหารระดับสูงมีสิ่งที่เรียกว่าความสามารถในการนําองค์กรแบบดิจิทัล (Digital Leadership) ซึ่งการที่จะสามารถทําทั้งสองสิ่งนี้ได้จําเป็นต้องมีบุคลากรที่เข้าใจในเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลและสามารถนํามาใช้ในการบริหารจัดการและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ องค์กรได้อย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงผลกระทบทั้งในแง่สังคม วัฒนธรรม และความเป็นส่วนตัว ด้วยเหตุดังกล่าว หลักสูตรการแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล วิชาเอกนโยบายและการบริหารดิจิทัล และวิชาเอกวิทยาศาสตร์ข้อมูล จึงได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศตามแนวคิดเศรษฐกิจดิจิทัลที่นับวันจะยิ่งมีความสําคัญเพิ่มมากขึ้นในโลกแห่งการพัฒนา วิชาเอกนโยบายและการบริหารดิจิทัลมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลโดยเน้นองค์ความรู้ความเข้าใจเรื่องความหมายของเศรษฐกิจดิจิทัลและการนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึงการ รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อวางแผนและดําเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ในขณะที่วิชาเอกวิทยาศาสตร์ข้อมูลมุ่งเน้นการยกระดับความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงโดยข้ามผ่านข้อจํากัดของโครงสร้างข้อมูลที่มีความซับซ้อนและกระจัดกระจายโดยใช้โมเดลและเครื่องมือทางสถิติขั้นสูงซึ่ง ได้นําเอาความสามารถของปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการเรียนรู้ข้อมูล จนกระทั่งได้รับผลลัพธ์ออกมาเป็นข้อมูลที่ทรงพลังต่อการสนับสนุนต่อการตัดสินใจเพื่อขับเคลื่อนภาครัฐและเอกชนต่อไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อให้มหาบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรมีลักษณะ ดังนี้

มีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและการติดต่อสื่อสาร มีคุณธรรม จริยธรรม และภาวะของการเป็นผู้นํา

มีความรู้ ความสามารถจัดทําแผนปฏิบัติการทางด้านดิจิทัลที่สนับสนุนแผนแม่บทขององค์กร

มีวิสัยทัศน์ สามารถกําหนดทิศทางในการพัฒนาดิจิทัลขององค์กร และกํากับดูแลและติดตามการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีการเชื่อมโยงกัน

มีความสามารถในการประเมินผลและตรวจสอบงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศทั้งหมด ขององค์กร

มีความสามารถเป็นที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศให้กับผู้บริหารองค์กร

มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง

เส้นทางอาชีพในอนาคต

สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

ผู้บริหารสารสนเทศหรือผู้บริหารด้านดิจิทัลตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับสูงขององค์กร

ที่ปรึกษาด้านดิจิทัล/เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร

นักบริหารศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล/เทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัล

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

วิศวกรข้อมูล

นักสถิติประยุกต์

โครงสร้างหลักสูตร

วิชาบังคับ

ไพธอนสำหรับงานวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Python for Data Science)

ไพธอนสำหรับงานวิทยาศาสตร์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Python for Data Science)

ธุรกิจอัจริยะ (Business Intelligence)

การวิเคราะห์ข้อความ (Text Analytics)

ขั้นตอนวิธีสำหรับเหมืองข้อมูล (Data Mining Algorithms)

ขั้นตอนวิธีสำหรับเหมืองข้อมูลขั้นสูง (Advanced Data Mining Algorithms)

การสำรวจข้อมูล (Data Exploration)

การจัดเตรียมข้อมูล (Data Preprocessing)

พื้นฐานของการแปรรูปแบบทางดิจิทัล (Fundamental of Digital Transformation)

การแปรรูปแบบทางดิจิทัลขั้นสูง (Advanced Digital Transformation)

โครงงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science Capstone Project)

ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science Research Methodology)

วิชาเลือก

นักศึกษาแผน ข ให้ศึกษาวิชาเลือกจำนวน 8 วิชา รวม 12 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

กรณีศึกษาทางธุรกิจสำหรับงานวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Business Case for Data Science)

การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาและการสร้างความผูกพัน (Developing Solution and Engagement)

นโยบายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security Policy)

ภัยคุกคามและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Threat & Security)

ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล (Digital Leadership)

พฤติกรรมองค์กรยุคดิจิทัล (Digital Organization Behavior)

การคิดเชิงออกแบบสำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจและความเป็นผู้ประกอบการ (Design Thinking for Business Strategy and Entrepreneurship)

การคิดเชิงออกแบบสำหรับสถาปัตยกรรมสังคมดิจิทัล (Design Thinking for Digital Society Architecture)

หัวข้อพิเศษ (Special Topics)

หัวข้อพิเศษขั้นสูง (Advanced Special Topics)

การค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษา แผน ข)

การค้นคว้าอิสระ 1 (Independent Study 1)

การค้นคว้าอิสระ 2 (Independent Study 2)

เงื่อนไขการสมัคร & ขั้นตอนการสมัคร

อบรมผ่านรายวิชาบังคับในหลักสูตร ที่จัดการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต จำนวน 18 หน่วยกิต และได้เกรดเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 3.00

สอบผ่านประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล วิชาเอกวิทยาศาสตร์ข้อมูล

สอบสัมภาษณ์

การทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าศึกษาจะต้องส่งผลทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ (TUGET) ซึ่งจัดสอบโดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ ผลคะแนน TOEFL หรือ ผล คะแนน IELTS ทั้งนี้ ผลคะแนนการทดสอบจะต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร

เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ/หรือวิทยาลัยนวัตกรรม

ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท คลิกที่นี่ 

ค่าเล่าเรียน

ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตร 2 ปี คือ 153,000 บาทต่อคน โดยมีการบริหารจัดการเป็นโครงการบริการการศึกษา (เพื่อรับปริญญา) (โครงการพิเศษ) นักศึกษามีค่าใช้จ่ายหลัก ได้แก่  ค่าเรียนรายวิชาออนไลน์และค่าสอบเพื่อเก็บหน่วยกิตรายวิชาละ 4,500 บาท ค่าสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ครั้งละ 5,000 บาท ค่าลงทะเบียนการค้นคว้าอิสระหน่วยกิตละ 8,000 บาท ค่าธรรมเนียมพิเศษของวิทยาลัยนวัตกรรมภาคการศึกษาละ 5,000 บาท และค่าธรรมเนียมการศึกษาของมหาวิทยาลัย (หลังจากขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์แล้ว)

ชื่อหลักสูตร

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล)
Master of Science (Digital Business Transformation)
วิชาเอก

วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) (หลักสูตรออนไลน์) มีความร่วมมือกับบริษัท SkillLane ด้านการดูแลระบบ
https://www.citu.tu.ac.th/mdxdatascience/

แนะนำหลักสูตร

          ท่ามกลางกระแสการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Innovation) ที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง แบบก้าวกระโดด (Exponential Change) นั้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมต่าง ๆ ในการดําเนินชีวิตประจําวันของผู้คน รวมไปถึงพฤติกรรมและความคาดหวังต่อการดําเนินงานของธุรกิจต่างๆ ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ส่งผลให้วิธีการดําเนินธุรกิจเหล่านั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับความต้องการและความคาดหวังที่หลากหลายด้วยเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ส่งผลกระทบกับธุรกิจในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในภาคการผลิต ภาคการบริการ หรือแม้กระทั่งภาครัฐ หากธุรกิจใดที่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ย่อมจะส่งผลเสียทั้งในเรื่องของความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการทํากําไร หรือในท้ายที่สุด อาจส่งผลถึงความอยู่รอดของธุรกิจนั้น ๆ รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นความสําคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล จึงได้มีการประกาศนโยบาย เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เพื่อรองรับการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลและเตรียมความ พร้อมให้กับประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีศักยภาพพร้อมรองรับการแข่งขันในโลกการพัฒนาปัจจุบันและเตรียมความพร้อมเข้าสู่การแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน (AEC) โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน โดยภาครัฐได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจดิจิทัลว่า เป็นเศรษฐกิจภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ ที่มีรากฐานและการขับเคลื่อน ผลักดันจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารและโดยผู้มีผลประโยชน์ร่วม ที่ผลักดันให้ประเทศ รัฐบาล และเอกชน มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี มีมาตรฐานจากการใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มและศักยภาพการแข่งขันในระดับสากล และเพื่อการขับเคลื่อนทุกมิติของเป้าหมายของเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การผลิต และการบริการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลหากสามารถนํามาใช้อย่างสร้างสรรค์ จะเป็นกลไกที่สําคัญของ ภาครัฐในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยภาครัฐสามารถที่จะให้บริการพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นด้าน สุขภาพ การศึกษา หรือความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยอาศัยนวัตกรรมดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการ เพิ่มประสิทธิภาพการทํางานที่เป็นระบบและการเชื่อมโยงประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทํางานร่วมกัน สําหรับภาคเอกชนนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกลไกสําคัญในการเสริมสร้าง ประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดําเนินธุรกิจที่ตอบสนองต่อวิถีการดําเนินชีวิตที่ เปลี่ยนไป รวมไปถึงโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ

          จากแนวทางการพัฒนาประเทศโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และความสําเร็จขององค์กรต่าง ๆ ที่สามารถนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ในประเทศจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการ ดําเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า การเพิ่มประสิทธิภาพ กระบวนการหลัก การใช้นวัตกรรมดิจิทัลในการสร้างโมเดลใหม่ๆทางธุรกิจ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่มี ลักษณะเป็น Big Data ด้วยตัวแบบทางสถิติขั้นสูงเพื่อให้ได้มาซึ่งภาพนิทัศน์ (Visualization) ที่สามารถ นํามาใช้ตัดสินใจในทางธุรกิจได้ แต่ว่าการปรับเปลี่ยนธุรกิจหรือการสร้างธุรกิจใหม่ในรูปแบบดิจิทัลนั้น ไม่ใช่ เป็นเพียงแค่การซื้อเทคโนโลยีทางดิจิทัลเข้ามาแล้วหวังว่าเทคโนโลยีนั้นจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การดําเนินงานของธุรกิจได้ การที่องค์กรจะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลได้อย่าง มีประสิทธิภาพหรือที่เรียกว่าองค์กรที่เป็น Digital Master นั้น องค์กรจะต้องสามารถที่จะสร้างศักยภาพ ทางดิจิทัล (Digital Capability) รวมไปถึงการที่ผู้บริหารระดับสูงมีสิ่งที่เรียกว่าความสามารถในการนําองค์กรแบบดิจิทัล (Digital Leadership) ซึ่งการที่จะสามารถทําทั้งสองสิ่งนี้ได้จําเป็นต้องมีบุคลากรที่เข้าใจในเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลและสามารถนํามาใช้ในการบริหารจัดการและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ องค์กรได้อย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงผลกระทบทั้งในแง่สังคม วัฒนธรรม และความเป็นส่วนตัว ด้วยเหตุดังกล่าว หลักสูตรการแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล วิชาเอกนโยบายและการบริหารดิจิทัล และวิชาเอกวิทยาศาสตร์ข้อมูล จึงได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศตามแนวคิดเศรษฐกิจดิจิทัลที่นับวันจะยิ่งมีความสําคัญเพิ่มมากขึ้นในโลกแห่งการพัฒนา วิชาเอกนโยบายและการบริหารดิจิทัลมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลโดยเน้นองค์ความรู้ความเข้าใจเรื่องความหมายของเศรษฐกิจดิจิทัลและการนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึงการ รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อวางแผนและดําเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ในขณะที่วิชาเอกวิทยาศาสตร์ข้อมูลมุ่งเน้นการยกระดับความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงโดยข้ามผ่านข้อจํากัดของโครงสร้างข้อมูลที่มีความซับซ้อนและกระจัดกระจายโดยใช้โมเดลและเครื่องมือทางสถิติขั้นสูงซึ่ง ได้นําเอาความสามารถของปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการเรียนรู้ข้อมูล จนกระทั่งได้รับผลลัพธ์ออกมาเป็นข้อมูลที่ทรงพลังต่อการสนับสนุนต่อการตัดสินใจเพื่อขับเคลื่อนภาครัฐและเอกชนต่อไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อให้มหาบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรมีลักษณะ ดังนี้

● มีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและการติดต่อสื่อสาร มีคุณธรรม จริยธรรม และภาวะของการเป็นผู้นํา

● มีความรู้ ความสามารถจัดทําแผนปฏิบัติการทางด้านดิจิทัลที่สนับสนุนแผนแม่บทขององค์กร

● มีวิสัยทัศน์ สามารถกําหนดทิศทางในการพัฒนาดิจิทัลขององค์กร และกํากับดูแลและติดตามการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีการเชื่อมโยงกัน

● มีความสามารถในการประเมินผลและตรวจสอบงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศทั้งหมด ขององค์กร

● มีความสามารถเป็นที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศให้กับผู้บริหารองค์กร

● มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง

หลักสูตรนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

วิชาเอก วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)

(หลักสูตรออนไลน์)

แผน ข

หมวดวิชาบังคับ
(เรียนออนไลน์ และโอนรายวิชา)

18 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก
(เรียนออนไลน์ และโอนรายวิชา)

12 หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

การค้นคว้าอิสระ

6 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตรวม

ตลอดหลักสูตร

36 หน่วยกิต

นักศึกษาแผน ข ให้ศึกษาวิชาบังคับจำนวน 12 วิชา รวม 18 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

รหัสวิชารายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

(บรรยาย – ปฏิบัติ – ศึกษาด้วยตนเอง)

นท 651

IO 651

ไพธอนสำหรับงานวิทยาศาสตร์ข้อมูล

Python for Data Science

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 751

IO 751

ไพธอนสำหรับงานวิทยาศาสตร์ข้อมูลขั้นสูง

Advanced Python for Data Science

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 631

IO 631

ธุรกิจอัจริยะ

Business Intelligence

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 731

IO 731

การวิเคราะห์ข้อความ

Text Analytics

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 652

IO 652

ขั้นตอนวิธีสำหรับเหมืองข้อมูล

Data Mining Algorithms

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 752

IO 752

ขั้นตอนวิธีสำหรับเหมืองข้อมูลขั้นสูง

Advanced Data Mining Algorithms

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 642

IO 642

การสำรวจข้อมูล

Data Exploration

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 742

IO 742

การจัดเตรียมข้อมูล

Data Preprocessing

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 643

IO 643

พื้นฐานของการแปรรูปแบบทางดิจิทัล

Fundamental of Digital Transformation

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 743

IO 743

การแปรรูปแบบทางดิจิทัลขั้นสูง

Advanced Digital Transformation

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 644

IO 644

โครงงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล

Data Science Capstone Project

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 744

IO 744

ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ข้อมูล

Data Science Research Methodology

1.5 (1.5-0-4.5)

วิชาเลือก

นักศึกษาแผน ข ให้ศึกษาวิชาเลือกจำนวน 8 วิชา รวม 12 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

รหัสวิชารายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

(บรรยาย – ปฏิบัติ – ศึกษาด้วยตนเอง)

นท 638

IO 638

กรณีศึกษาทางธุรกิจสำหรับงานวิทยาศาสตร์ข้อมูล

Business Case for Data Science

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 738

IO 738

การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาและการสร้างความผูกพัน

Developing Solution and Engagement

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 658

IO 658

นโยบายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

Cyber Security Policy

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 758

IO 758

ภัยคุกคามและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

Cyber Threat & Security

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 608

IO 608

ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล

Digital Leadership

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 708

IO 708

พฤติกรรมองค์กรยุคดิจิทัล

Digital Organization Behavior

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 639

IO 639

การคิดเชิงออกแบบสำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจและความเป็นผู้ประกอบการ

Design Thinking for Business Strategy and Entrepreneurship

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 739

IO 739

การคิดเชิงออกแบบสำหรับสถาปัตยกรรมสังคมดิจิทัล

Design Thinking for Digital Society Architecture

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 659

IO 659

หัวข้อพิเศษ

Special Topics

1.5 (1.5-0-4.5)

นท 759

IO 759

หัวข้อพิเศษขั้นสูง

Advanced Special Topics

1.5 (1.5-0-4.5)

การค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษา แผน ข)

รหัสวิชารายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

(บรรยาย – ปฏิบัติ – ศึกษาด้วยตนเอง)

นท 791

IO 791

การค้นคว้าอิสระ 1

Independent Study 1

3

นท 792

IO 792

การค้นคว้าอิสระ 2

Independent Study 2

3

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ดังต่อไปนี้

● ผู้บริหารสารสนเทศหรือผู้บริหารด้านดิจิทัลตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับสูงขององค์กร

● ที่ปรึกษาด้านดิจิทัล/เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร

● นักบริหารศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

● นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล/เทคโนโลยีสารสนเทศ

● ผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัล

● นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

● วิศวกรข้อมูล

● นักสถิติประยุกต์

เงื่อนไขการสมัคร & ขั้นตอนการสมัคร

การรับสมัครเป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดูข้อมูลการรับสมัครเพิ่มเติมได้ที่หน้า “สมัครเข้าศึกษา” 

● สอบผ่านรายวิชาบังคับในหลักสูตร ที่จัดการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต จำนวน 18 หน่วยกิต และได้เกรดเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 3.00

● สอบผ่านประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล วิชาเอกวิทยาศาสตร์ข้อมูล

● การสอบสัมภาษณ์

● การทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าศึกษาจะต้องส่งผลทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ (TUGET) ซึ่งจัดสอบโดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ ผลคะแนน TOEFL หรือ ผล คะแนน IELTS ทั้งนี้ ผลคะแนนการทดสอบจะต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร

● เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ/หรือวิทยาลัยนวัตกรรม

ค่าเล่าเรียน

ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตร 2 ปี คือ 153,000 บาทต่อคน โดยมีการบริหารจัดการเป็นโครงการบริการการศึกษา (เพื่อรับปริญญา) (โครงการพิเศษ) นักศึกษามีค่าใช้จ่ายหลัก ได้แก่  ค่าเรียนรายวิชาออนไลน์และค่าสอบเพื่อเก็บหน่วยกิตรายวิชาละ 4,500 บาท ค่าสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ครั้งละ 5,000 บาท ค่าลงทะเบียนการค้นคว้าอิสระหน่วยกิตละ 8,000 บาท ค่าธรรมเนียมพิเศษของวิทยาลัยนวัตกรรมภาคการศึกษาละ 5,000 บาท และค่าธรรมเนียมการศึกษาของมหาวิทยาลัย (หลังจากขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์แล้ว)

ติดต่อ

วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง
เขตพระนคร กรุงเทพๆ 10200

● โทรศัพท์ 0 2623 5055-8
● โทรสาร 0 2623 5060

สถานที่ทำการ

วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น 1 และ 4
เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

ข้อมูลหลักสูตร

ภาษาไทย  ชื่อเต็ม: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล)

ชื่อย่อ: วท.ม. (การแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล)

ภาษาอังกฤษ  ชื่อเต็ม:  Master of Science (Digital Business Transformation)

ชื่อย่อ: M.S. (Digital Business Transformation)

คณาจารย์ในหลักสูตร 
Aj.Sarawut01
Assoc.Prof. Sarawut Ramjan, Ph.D.
ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท MDX และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท MDX DataSci
Ph.D. (Computer and Engineering Management), Assumption University, Thailand, 2013
IMG_9000jirapon
Assoc.Prof. Jirapon Sunkpho, Ph.D.
รองอธิการบดีฝ่ายบริหารท่าพระจันทร์และการดิจิทัล / รองศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรออนไลน์ของวิทยาลัยนวัตกรรม
Ph.D. (Computer-Aided Engineering and Management), Carnegie-Mellon University, Pittsburgh, U.S.A., 2001
ผศ.ดร.คม
Assoc.Prof. Kom Campiranon, Ph.D.
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และรองศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรออนไลน์ของวิทยาลัยนวัตกรรม
Ph.D. (Tourism Management), University of Queensland, Australia, 2007
nopphon-new
Asst.Prof. Nopphon Tangjitprom, Ph.D.
รองคณบดีฝ่ายดิจิทัล / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรออนไลน์ของวิทยาลัยนวัตกรรม
Ph.D. (Finance), National Institute of Development Administration (NIDA), 2013
อาจารย์ ดร.อัจฉรา
Asst.Prof. Ajchara Phu-ang, Ph.D.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรออนไลน์ของวิทยาลัยนวัตกรรม
ปร.ด. (เทคโนโลยีสารสนเทศ), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2560
Address:

วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารเอนกประสงค์ 3 ชั้น 1 และ 4 เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

Facebook:

@digital.citu

Youtube:

CITU Official