หลักสูตร ปริญญาโท
การจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
Master of Arts Program in Management of Cultural Heritage and Creative Industries (MCI)
MCI
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
MASTER OF ARTS PROGRAM IN MANAGEMENT OF CULTURAL HERITAGE AND CREATIVE INDUSTRIES
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
Master of Arts Program in Management of Cultural Heritage and Creative Industries (MCI)
แนะนำหลักสูตร
หลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ให้ความสำคัญในการบริหารและจัดการเชิงบูรณาการที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยมุ่งหวังให้บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมอย่างรอบด้าน ทั้งในองค์รวมและความลุ่มลึก หลักสูตรจึงได้รับการออกแบบให้เป็นพหุวิทยาการ ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ 2 ด้านหลัก คือองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม และการจัดการบนพื้นฐานคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ที่มีความสามารถในการบูรณาองค์ความรู้สู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงพัฒนาตนเองให้เป็นนักจัดการและวางแผนการดำเนินงานด้านการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิผล อันตอบสนองพันธกิจว่าด้วยมรดกวัฒนธรรมในระดับชาติและระดับภูมิภาคที่สอดรับกับพันธกิจแห่งประชาคมอาเซียน (ASEAN) โดยวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในสามเสาหลัก ที่กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการกระตุ้นและพัฒนาอัตลักษณ์อาเซียน รวมถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านคุณค่าและกระตุ้นความหวงแหนมรดกวัฒนธรรมให้เป็นทรัพย์สินแห่งภูมิภาค อันแสดงอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมไว้ได้
นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีแนวทางในการจัดการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับองค์กรระดับนานาชาติ เฉกเช่น องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) ที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม บนพื้นฐานการเรียนรู้ของตนเองและชุมชน ที่ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือและสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ตระหนักถึงคุณค่ามรดกวัฒนธรรมภายใต้การพัฒนาและการวิจัย
เส้นทางอาชีพในอนาคต
บุคลากรสายวิชาการด้านการจัดการทางวัฒนธรรมในระดับเชี่ยวชาญ เช่น อาจารย์สอนด้านศิลปวัฒนธรรม เจ้าหน้าที่ระดับเชี่ยวชาญในแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑสถาน หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม หอจดหมายเหตุ สำนักงานด้านศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
ผู้บริหารในแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑสถาน หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม หอจดหมายเหตุ สำนักงานด้านศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
นักวิจัยด้านการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนงานด้านการจัดการทางวัฒนธรรม
เจ้าหน้าที่ระดับเชี่ยวชาญหรือผู้บริหารในองค์กรด้านการท่องเที่ยว
นักระดมทุนโครงการศิลปวัฒนธรรม
นักวางแผนจัดโครงการนิทรรศการด้านศิลปวัฒนธรรม
นักวางแผนจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม
ผู้บริหารฝ่ายการตลาดและการประชาสัมพันธ์ในองค์กรทางวัฒนธรรม
ผู้บริหารและผู้ผลิตสื่อรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์
ผู้จัดการโรงละครและพื้นที่การแสดงทางวัฒนธรรม
ผู้บริหารบริษัทรับจัดงานกิจกรรม (Events)
จ้าขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสื่อและสิ่งพิมพ์ทางวัฒนธรรมประเภทต่าง ๆ เจ้าของกิจการเพื่อสังคม (social enterprise)
โครงสร้างหลักสูตร
วิชาบังคับ
การจัดการนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี
ระเบียบวิธีวิจัย
การตลาดเชิงนวัตกรรมและการจัดการตราผลิตภัณฑ์
การจัดการมรดกวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์
ผู้ประกอบการทางสังคมและวัฒนธรรม
การจัดการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เชิงบูรณาการ
สัมมนาทางกฎหมายและจริยธรรมในมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
มรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในบริบทสากล
วิชาเลือก
ชุมชนศึกษาและการจัดการมรดกวัฒนธรรมชุมชน
การหลอมรวมสื่อในบริบทข้ามวัฒนธรรม
เพศสถานะในมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
นวัตกรรมเพื่องานวัฒนธรรม
หัวข้อเฉพาะในการจัดการมรดกวัฒนธรรม
หัวข้อเฉพาะในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
การค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษา แผน ข)
วิทยานิพนธ์ (สําหรับนักศึกษา แผน ก แบบ ก2)
เงื่อนไขการสมัคร & ขั้นตอนการสมัคร
ใบรับรองตามแบบของวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลสอบภาษาอังกฤษ TU-GET, TOEFL, IELTS
Transcript ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ /วิทยาลัยนวัตกรรม
สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์
ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท คลิกที่นี่
ค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี คือ 184,920 บาทต่อคน โดยมีการ บริหารจัดการเป็นโครงการบริการการศึกษา (เพื่อรับปริญญา) (โครงการพิเศษ) นักศึกษามีค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ค่าหน่วยกิตๆ ละ 3,000 บาท ค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามระเบียบ และค่าธรรมเนียมพิเศษ ของวิทยาลัยนวัตกรรมภาคการศึกษาละ 20,000 บาท ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา (สำหรับนักศึกษาไทย) ตลอดระยะเวลาหลักสูตรนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานต่างประเทศ
ชื่อหลักสูตร
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
Master of Arts Program in Management of Cultural Heritage and Creative Industries (MCI)
https://www.citu.tu.ac.th/mci/
แนะนำหลักสูตร
หลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ให้ความสำคัญในการบริหารและจัดการเชิงบูรณาการที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยมุ่งหวังให้บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมอย่างรอบด้าน ทั้งในองค์รวมและความลุ่มลึก หลักสูตรจึงได้รับการออกแบบให้เป็นพหุวิทยาการ ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ 2 ด้านหลัก คือองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม และการจัดการบนพื้นฐานคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ที่มีความสามารถในการบูรณาองค์ความรู้สู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงพัฒนาตนเองให้เป็นนักจัดการและวางแผนการดำเนินงานด้านการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิผล อันตอบสนองพันธกิจว่าด้วยมรดกวัฒนธรรมในระดับชาติและระดับภูมิภาคที่สอดรับกับพันธกิจแห่งประชาคมอาเซียน (ASEAN) โดยวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในสามเสาหลัก ที่กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการกระตุ้นและพัฒนาอัตลักษณ์อาเซียน รวมถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านคุณค่าและกระตุ้นความหวงแหนมรดกวัฒนธรรมให้เป็นทรัพย์สินแห่งภูมิภาค อันแสดงอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมไว้ได้
นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีแนวทางในการจัดการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับองค์กรระดับนานาชาติ เฉกเช่น องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) ที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม บนพื้นฐานการเรียนรู้ของตนเองและชุมชน ที่ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือและสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ตระหนักถึงคุณค่ามรดกวัฒนธรรมภายใต้การพัฒนาและการวิจัย
เส้นทางอาชีพในอนาคต
● บุคลากรสายวิชาการด้านการจัดการทางวัฒนธรรมในระดับเชี่ยวชาญ เช่น อาจารย์สอนด้านศิลปวัฒนธรรม เจ้าหน้าที่ระดับเชี่ยวชาญในแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑสถาน หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม หอจดหมายเหตุ สำนักงานด้านศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
● ผู้บริหารในแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑสถาน หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม หอจดหมายเหตุ สำนักงานด้านศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
● นักวิจัยด้านการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
● นักวิเคราะห์นโยบายและแผนงานด้านการจัดการทางวัฒนธรรม
● เจ้าหน้าที่ระดับเชี่ยวชาญหรือผู้บริหารในองค์กรด้านการท่องเที่ยว
● นักระดมทุนโครงการศิลปวัฒนธรรม
● นักวางแผนจัดโครงการนิทรรศการด้านศิลปวัฒนธรรม
● นักวางแผนจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม
● ผู้บริหารฝ่ายการตลาดและการประชาสัมพันธ์ในองค์กรทางวัฒนธรรม
● ผู้บริหารและผู้ผลิตสื่อรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์
● ผู้จัดการโรงละครและพื้นที่การแสดงทางวัฒนธรรม
● ผู้บริหารบริษัทรับจัดงานกิจกรรม (Events)
● เจ้าขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสื่อและสิ่งพิมพ์ทางวัฒนธรรมประเภทต่าง ๆ
เจ้าของกิจการเพื่อสังคม (social enterprise)
โครงสร้างหลักสูตร
วิชาบังคับ
● การจัดการนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี
● ระเบียบวิธีวิจัย
● การตลาดเชิงนวัตกรรมและการจัดการตราผลิตภัณฑ์
● การจัดการมรดกวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์
● ผู้ประกอบการทางสังคมและวัฒนธรรม
● การจัดการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เชิงบูรณาการ
● สัมมนาทางกฎหมายและจริยธรรมในมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
● มรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในบริบทสากล
วิชาเลือก
● ชุมชนศึกษาและการจัดการมรดกวัฒนธรรมชุมชน
● การหลอมรวมสื่อในบริบทข้ามวัฒนธรรม
● เพศสถานะในมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
● นวัตกรรมเพื่องานวัฒนธรรม
● หัวข้อเฉพาะในการจัดการมรดกวัฒนธรรม
● หัวข้อเฉพาะในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
การค้นคว้าอิสระ (สําหรับนักศึกษา แผน ข)
วิทยานิพนธ์ (สําหรับนักศึกษา แผน ก แบบ ก2)
เงื่อนไขการสมัคร & ขั้นตอนการสมัคร
●ใบรับรองตามแบบของวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
● ผลสอบภาษาอังกฤษ TU-GET, TOEFL, IELTS
● Transcript ฉบับภาษาอังกฤษ
เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ /วิทยาลัยนวัตกรรม
● สอบข้อเขียน
● สอบสัมภาษณ์
ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท คลิกที่นี่
ค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี คือ 184,920 บาทต่อคน โดยมีการ บริหารจัดการเป็นโครงการบริการการศึกษา (เพื่อรับปริญญา) (โครงการพิเศษ) นักศึกษามีค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ค่าหน่วยกิตๆ ละ 3,000 บาท ค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามระเบียบ และค่าธรรมเนียมพิเศษ ของวิทยาลัยนวัตกรรมภาคการศึกษาละ 20,000 บาท ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา (สำหรับนักศึกษาไทย) ตลอดระยะเวลาหลักสูตรนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานต่างประเทศ
ติดต่อ
● ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.รัชนีกร แซ่วัง ผู้อำนวยการหลักสูตร
02 623 5055-8 ต่อ 4156
● รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร
02 623 5055-8 ต่อ 4155
● ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ อาจารย์ประจำหลักสูตร
02 623 5055-8 ต่อ 4154
● อาจารย์ กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล อาจารย์ประจำหลักสูตร
02 623 5055-8 ต่อ 4165
● ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิพล เอื้อจรัสพันธ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร
02 623 5055-8 ต่อ 4143
● ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตร
02 623 5055-8 ต่อ 4166
● อาจารย์ ดร.พิชชากานต์ ช่วงชัย อาจารย์ประจำหลักสูตร
02 623 5055-8 ต่อ 4170
สถานที่ทำการ
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น 1 และ 4
เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
ตัวอย่างคำบอกเล่าของนักศึกษา
● อาจารย์มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
● อาจารย์เอาใจใส่และใกล้ชิดนักศึกษา
ข้อมูลหลักสูตร
ภาษาไทย ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ชื่อย่อ: ศศ.ม. การจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม: Master of Arts Program in Management of Cultural Heritage and Creative Industries
ชื่อย่อ: M.A. (Management of Cultural Heritage and Creative Industries)
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารเอนกประสงค์ 3 ชั้น 1 และ 4 เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200