วิทยาลัยนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยาลัยนวัตกรรมเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาตรี ในลักษณะสหวิทยาการที่ผสมผสานองค์ความรู้ทั้งในด้านเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศิลปะ วัฒนธรรมและการบริการ เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักสูตรที่สามารถตอบสนองกับการพัฒนาของสังคมไทยในระดับสากล
เกี่ยวกับวิทยาลัย
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: College of Innovation Thammasat University: CITU) สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา ศูนย์ท่าพระจันทร์ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 2 อาคารอเนกประสงค์ 3 วิทยาลัยนวัตกรรม ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานครธรรมศาสตร์ และ ศูนย์พัทยา ตั้งอยู่ที่ อุทยานการเรียนรู้ อ.บางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีสถานะเทียบเท่าคณะ สำนัก หรือสถาบัน ตั้งขึ้นเพื่อให้การศึกษา ฝึกอบรม ค้นคว้า วิจัยและให้บริการสังคม เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาวิชาการ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ปัจจุบันวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนใน 6 หลักสูตร
ระดับปริญญาตรี
(1) ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปริญญาตรีต่อเนื่องปริญญาโท 5 ปี
Bachelor of Arts Program in Management of Cultural Heritage and Creative Industries (BMCI)
(2) ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริการ (นานาชาติ)
Bachelor of Arts Program in Service Innovation (BSI) (International Program)
(3) วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล
Bachelor of Science Program in Digital Transformation & Innovation (dX)
ระดับปริญญาโท
(1) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยี
Master of Science Program in Innovation and Technology Management (MTT)
(2) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล
Master of Science Program in Digital Business Transformation (MDX)
(3) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
Master of Arts Program in Management of Cultural Heritage and Creative Industries (MCI)
วิทยาลัยเปิดสอนใน 2 วิทยาเขต คือ
(ก) ท่าพระจันทร์
(ข) อุทยานการเรียนรู้ ศูนย์พัทยา เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตร MTT
ประวัติความเป็นมา
วิทยาลัยนวัตกรรมถือกำเนิดขึ้นในปี 2538 จากวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ต้องการจะริเริ่ม “สิ่งใหม่” ให้กับวงการศึกษาของไทย และเป็นรูปแบบใหม่ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ได้ปรับเปลี่ยนจากที่จัดตั้งเป็นคณะและภาควิชามาสู่วิทยาลัย (College) และในปีที่ 12 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติให้มีการแก้ไขชื่อ “วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา” เป็น “วิทยาลัยนวัตกรรม” และเปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้รับผิดชอบการบริหารงานวิทยาลัย จาก “ผู้อำนวยการ” เป็น “คณบดี” เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551
วิทยาลัยนวัตกรรม เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้หยิบยกประเด็นหลัก ๆ 4 ประการ คือ
- จะต้องเป็นการศึกษาที่ผสมผสานศาสตร์ทางด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
- จะต้องเป็นการศึกษาที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการสังคม
- จะต้องส่งเสริมให้มีการสรรค์สร้างนวัตกรรม ตลอดจนสามารถนำทรัพย์สินทางปัญญาออกมาใช้ประโยชน์ได้
- จะต้องมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระจากระบบราชการ สามารถร่วมงานกับภาคเอกชนได้อย่างใกล้ชิด
การจัดการเรียน การสอน
วิทยาลัยนวัตกรรม จัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาในลักษณะสหสาขาวิชาที่ผสานรวมองค์ความรู้ทั้งในด้านการบริหารจัดการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักสูตรที่สมบูรณ์ และสมดุลตอบสนองกับการพัฒนาของสังคมไทยในระดับสากล และมุ่งที่จะเป็นผู้นำด้านการเรียนรู้ และเป็นสถาบันที่มีมาตรฐานการเรียนการสอนและมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างพลังจากความหลากหลาย (Synergy from Diversity) ก้าวไกลด้วยคุณธรรม (Excellence with Ethics) มุ่งสร้างนวัตกรรมการศึกษาและพัฒนาโดยคำนึงถึงองค์รวม (Educational Innovation with Holistic Development)
วิทยาลัยนวัตกรรม จัดระบบการเรียนการสอนโดยใช้ทั้งทฤษฎีและกรณีศึกษา โดยเน้นแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ ส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมในการบริหารและการทำงานให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาเทคโนโลยี ข้อจำกัดของทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อชุมชนและสังคมไทย บัณฑิตของวิทยาลัยจะต้องสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้รองรับ ตอบสนองและบริหารความเปลี่ยนแปลงนั้นได้ในมิติของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาและนำองค์กร รวมทั้งการพัฒนาและร่วมนำสังคมไทยโดยรวม
วิทยาลัยนวัตกรรม , ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และสถาบัน CIO ระหว่างประเทศ (ประเทศไทย) ได้ทำความร่วมมือเพื่อพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ และไอทีภิบาลนี้ ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ อาทิเช่น มหาวิทยาลัยวาเซดะ ของประเทศญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยจอร์จเมสัน แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ในการจัดการและกำกับดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ซึ่งมาตรฐานของหลักสูตรสอดคล้องเป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับนานาชาติ
ทำเนียบผู้บริหารวิทยาลัย
ผู้อำนวยการ
• กรกฎาคม 2539 – เมษายน 2540 (รักษาการ ผอ.ศูนย์นวัตกรรมฯ) ผศ. ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ M.P.A. (Science & Technology), Harvard University, USA
• พฤษภาคม 2540 – กรกฎาคม 2541 รองศาสตราจารย์ ดร. นริศ ชัยสูตร Ph.D. Economics, University of Hawaii, USA
• สิงหาคม 2541 – มีนาคม 2542 (รักษาการ ผอ.วิทยาลัยฯ) ผศ. ดร. นพดล อินนา Ph.D. Eng. (เกียรตินิยมยอดเยี่ยม), MG- Gill, Canada
• เมษายน 2542 – สิงหาคม 2542 รศ. ดร. ภาณุพงษ์ นิธิประภา Ph.D. Economics, Johns Hopkins University, USA.
• พฤศจิกายน 2542 – ธันวาคม 2546 ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด Ph.D. Construction Management, University of Missouri- Columbia, USA.
• มกราคม 2547 – มิถุนายน 2550 ผศ. ดร. โกวิท ชาญวิทยาพงศ์ Ph.D. in Economics (Fellowships), Southern Illinois University at Carbondale, U.S.A.
• กรกฎาคม 2550 – มีนาคม 2551 รศ. ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ M.P.A (Public Policy and Management) Harvard University, U.S.A.
คณบดี
• มีนาคม 2551 – กรกฎาคม 2553 รศ. ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ M.P.A (Public Policy and Management) Harvard University, U.S.A.
• สิงหาคม 2553 – กรกฎาคม 2556 รศ. ดร. โกวิท ชาญวิทยาพงศ์ Ph.D. in Economics (Fellowships), Southern Illinois University at Carbondale, U.S.A.
• สิงหาคม 2556 – กันยายน 2562 ผศ. ดร. ประวิทย์ เขมะสุนันท์ Ph.D. (Economics), West Virginia University, U.S.A.
• กันยายน 2562 – ปัจจุบัน ผศ. ดร. ชยกฤต อัศวธิตานนท์ Ph.D. (Development Administration), National Institute of Development Administration (NIDA)
วิสัยทัศน์ / นโยบาย / พันธกิจ / ค่านิยม / สมรรถนะหลัก
การสร้างความเข้มแข็งด้านนวัตกรรมสำหรับอนาคต
“Strengthen Innovation for the Future”
- กรกฎาคม 2539 – เมษายน 2540 (รักษาการ ผอ.ศูนย์นวัตกรรมฯ)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
M.P.A. (Science & Technology), Harvard University, USA - พฤษภาคม 2540 – กรกฎาคม 2541
รองศาสตราจารย์ ดร. นริศ ชัยสูตร
Ph.D. Economics, University of Hawaii, USA - สิงหาคม 2541 – มีนาคม 2542 (รักษาการ ผอ.วิทยาลัยฯ)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพดล อินนา
Ph.D. Eng. (เกียรตินิยมยอดเยี่ยม), MG- Gill, Canada - เมษายน 2542 – สิงหาคม 2542
รองศาสตราจารย์ ดร. ภาณุพงษ์ นิธิประภา
Ph.D. Economics, Johns Hopkins University, USA - พฤศจิกายน 2542 – ธันวาคม 2546
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
Ph.D. Construction Management, University of Missouri- Columbia, USA - มกราคม 2547 – มิถุนายน 2550
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โกวิท ชาญวิทยาพงศ์
Ph.D. in Economics (Fellowships), Southern Illinois University at Carbondale, USA - กรกฎาคม 2550 – มีนาคม 2551
รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
M.P.A (Public Policy and Management) Harvard University, USA
การจัดการการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิต การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศรวมถึงการมีส่วนร่วมสนับสนุนสังคมและศิลปวัฒนธรรมให้เข้มแข็ง
การจัดการเพื่อนวัตกรรม
- มีนาคม 2551 – กรกฎาคม 2553
รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
M.P.A (Public Policy and Management) Harvard University, U.S.A. - สิงหาคม 2553 – กรกฎาคม 2556
รองศาสตราจารย์ ดร. โกวิท ชาญวิทยาพงศ์
Ph.D. in Economics (Fellowships), Southern Illinois University at Carbondale, U.S.A. - สิงหาคม 2556 – กันยายน 2562
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประวิทย์ เขมะสุนันท์
Ph.D. (Economics), West Virginia University, U.S.A - กันยายน 2562 – ปัจจุบัน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชยกฤต อัศวธิตานนท์
Ph.D. (Development Administration), National Institute of Development Administration (NIDA)
ยุทธศาสตร์
เป้าหมายเชิงนโยบาย
วิทยาลัยได้ถ่ายทอดปรัชญาดังกล่าวสู่เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อเป็น หลักยึดโยงในการดำเนินภารกิจ ในระหว่างปี 2565-2568 ประกอบด้วยเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ การเรียนการสอน งานวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรระยสั้น ที่ตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายในระดับนานาชาติและสังคมผู้สูงอายุ จัดการเรียนการสอนกับภาคอุตสาหกรรม
2) การพัฒนาองค์กรทั้งด้านกายภาพ และระบบงานดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรที่ปฏิบัติงานผ่านระบบอัตโนมัติแบบดิจิทัล ยกระดับการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
3) การสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับนักศึกษาและผู้เรียนผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่หลากหลาย
4) การผลักดันความร่วมมือด้านงานวิจัยร่วมกับต่างประเทศ ขยายกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียนในหลักสูตรไปสู่กลุ่มผู้เรียนทั่วโลกด้วยหลักสูตรนานาชาติ
อัตลักษณ์
“จิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม”
เอกลักษณ์
“ความเป็นธรรม”
ค่านิยม
การจัดการเพื่อนวัตกรรม
สมรรถนะหลัก
ขับเคลื่อนภาครัฐและเอกชนด้วยนวัตกรรมทางการจัดการ