หลักสูตร ปริญญาโท
การบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยี
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยี
Master of Science Program in Innovation and Technology Management (MTT)
MTT
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยี
MASTER OF SCIENCE PROGRAM IN INNOVATION AND TECHNOLOGY MANAGEMENT
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยี
Master of Science Program in Innovation and Technology Management (MTT)
แนะนำหลักสูตร
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยีขึ้น โดยมีเนื้อหาหลักสูตรเป็นลักษณะสหวิทยาการ (Multi-Disciplinary) ผสมผสานศาสตร์จาก หลากหลายองค์ความรู้ อาทิ ความรู้ด้านการจัดการเทคโนโลยี (Management of Technology Centered Knowledge) ความรู้ด้านที่เกี่ยวข้องกับองค์กร (Knowledge of Corporate Function) ความรู้เทคโนโลยีเฉพาะทาง (Technology-Centered Knowledge) และความรู้ด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ (Knowledge of Supporting Disciplines) ซึ่งสอดคล้องกับการกําหนดกลุ่มองค์ความรู้ของสมาคมการบริหารเทคโนโลยี นานาชาติ (International Association for Management of Technology – IAMOT) นอกจากนั้น ยังมีการใช้บุคลากรผู้สอนทั้งที่เป็นอาจารย์ประจําของวิทยาลัย อาจารย์ประจําจากคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น และมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาร่วมบรรยาย เพื่อให้เนื้อหาวิชาได้มีการผสมผสานระหว่างความรู้ภาคทฤษฎีพื้นฐาน และความรู้เชิงประยุกต์ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษามีมุมมองแบบบูรณาการ และมีการคิดอย่างเป็นระบบ (Integrated & Systematic Thinking) สามารถนําความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทํางานในองค์กรได้เป็นอย่างดี (Technology Commercialization) และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง
เส้นทางอาชีพในอนาคต
สามารถประกอบอาชีพในระดับบริหารจัดการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และสายอาชีพที่นํา เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ในด้านการบริหารจัดการ การผลิตสินค้าหรือบริการ จนทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กระบวนการผลิต หรือกระบวนการทํางานภายในองค์กรทั้งในภาครัฐและเอกชน ดังต่อไปนี้
ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้จัดการด้านซอฟต์แวร์
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
นักวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ดูแลพัฒนาระบบเครือข่ายและเครือข่ายแม่
ผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช่เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
โครงสร้างหลักสูตร
วิชาบังคับ
การจัดการนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี
ระเบียบวิธีวิจัย
การตลาดเชิงนวัตกรรมและการจัดการตราผลิตภัณฑ์
เศรษฐศาสตร์นวัตกรรมและเทคโนโลยี
การวางแผนเงินทุนและกํากับดูแลการลงทุน
การเงินและการบัญชีเพื่อการบริหารเทคโนโลยี
กลยุทธ์นวัตกรรมธุรกิจและความเป็นผู้ประกอบการ
การตัดสินใจในงานบริหารเทคโนโลยี
วิชาเลือก
การบริหารโครงการและการจัดการความเสี่ยง
การคิดเชิงยุทธศาสตร์และสร้างสรรค์
องค์กรแห่งนวัตกรรมและการบริหารการเปลี่ยนแปลง
สัมมนาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การบริหารงานวิจัย พัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ระบบการจัดการทรัพยากรเชิงปฏิบัติการ
การคาดการณ์เทคโนโลยีและแผนที่นําทาง
หัวข้อพิเศษเศรษฐศาสตร์นวัตกรรม
การจัดการธุรกิจค้าปลีก
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การค้นคว้าอิสระ (สําหรับนักศึกษา แผน ข) วิทยานิพนธ์ (สําหรับนักศึกษา แผน ก แบบ ก2)
เงื่อนไขการสมัคร & ขั้นตอนการสมัคร
ใบรับรองตามแบบของวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลสอบภาษาอังกฤษ TU-GET, TOEFL, IELTS
Transcript ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ /วิทยาลัยนวัตกรรม
สอบข้อเขียน
สอบสัมภาษณ์
ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท คลิกที่นี่
ค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตร 2 ปี คือ 220,000 บาทต่อคน โดยมีการบริหารจัดการเป็นโครงการบริการการศึกษา (เพื่อรับปริญญา) (โครงการพิเศษ) นักศึกษามีค่าใช้จ่ายหลัก ได้แก่ ค่าหน่วยกิต ๆ ละ 3,000 บาท และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ของวิทยาลัยนวัตกรรม ภาคการศึกษาละ 20,000 บาท ยกเว้นภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตรนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานต่างประเทศ และค่าตําราหรือหนังสือ
ชื่อหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยี
Master of Science Program in Innovation and Technology Management (MTT)
https://www.citu.tu.ac.th/mtt/
แนะนำหลักสูตร
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยีขึ้น โดยมีเนื้อหาหลักสูตรเป็นลักษณะสหวิทยาการ (Multi-Disciplinary) ผสมผสานศาสตร์จาก หลากหลายองค์ความรู้ อาทิ ความรู้ด้านการจัดการเทคโนโลยี (Management of Technology Centered Knowledge) ความรู้ด้านที่เกี่ยวข้องกับองค์กร (Knowledge of Corporate Function) ความรู้เทคโนโลยีเฉพาะทาง (Technology-Centered Knowledge) และความรู้ด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ (Knowledge of Supporting Disciplines) ซึ่งสอดคล้องกับการกําหนดกลุ่มองค์ความรู้ของสมาคมการบริหารเทคโนโลยี นานาชาติ (International Association for Management of Technology – IAMOT) นอกจากนั้น ยังมีการใช้บุคลากรผู้สอนทั้งที่เป็นอาจารย์ประจําของวิทยาลัย อาจารย์ประจําจากคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น และมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาร่วมบรรยาย เพื่อให้เนื้อหาวิชาได้มีการผสมผสานระหว่างความรู้ภาคทฤษฎีพื้นฐาน และความรู้เชิงประยุกต์ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษามีมุมมองแบบบูรณาการ และมีการคิดอย่างเป็นระบบ (Integrated & Systematic Thinking) สามารถนําความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทํางานในองค์กรได้เป็นอย่างดี (Technology Commercialization) และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง
เส้นทางอาชีพในอนาคต
สามารถประกอบอาชีพในระดับบริหารจัดการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และสายอาชีพที่นํา เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ในด้านการบริหารจัดการ การผลิตสินค้าหรือบริการ จนทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กระบวนการผลิต หรือกระบวนการทํางานภายในองค์กรทั้งในภาครัฐและเอกชน ดังต่อไปนี้
● ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
● ผู้จัดการด้านซอฟต์แวร์
● นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
● นักวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
● ผู้ดูแลพัฒนาระบบเครือข่ายและเครือข่ายแม่
● ผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
● นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช่เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
โครงสร้างหลักสูตร
วิชาบังคับ
● การจัดการนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี
● ระเบียบวิธีวิจัย
● การตลาดเชิงนวัตกรรมและการจัดการตราผลิตภัณฑ์
● เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยี
● การวางแผนเงินทุนและกํากับดูแลการลงทุน
● การเงินและการบัญชีเพื่อการบริหารเทคโนโลยี
● กลยุทธ์นวัตกรรมธุรกิจและความเป็นผู้ประกอบการ
● การตัดสินใจในงานบริหารเทคโนโลยี
วิชาเลือก
● การบริหารโครงการและการจัดการความเสี่ยง
● การคิดเชิงยุทธศาสตร์และสร้างสรรค์
● องค์กรแห่งนวัตกรรมและการบริหารการเปลี่ยนแปลง
● สัมมนาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยี
● การบริหารงานวิจัย พัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
● ระบบการจัดการทรัพยากรเชิงปฏิบัติการ
● การคาดการณ์เทคโนโลยีและแผนที่นําทาง
● หัวข้อพิเศษเศรษฐศาสตร์นวัตกรรม
● การจัดการธุรกิจค้าปลีก
● การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การค้นคว้าอิสระ (สําหรับนักศึกษา แผน ข)
วิทยานิพนธ์ (สําหรับนักศึกษา แผน ก แบบ ก2)
เงื่อนไขการสมัคร & ขั้นตอนการสมัคร
● ใบรับรองตามแบบของวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
● ผลสอบภาษาอังกฤษ TU-GET, TOEFL, IELTS
● Transcript ฉบับภาษาอังกฤษ
เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ /วิทยาลัยนวัตกรรม
● สอบข้อเขียน
● สอบสัมภาษณ์
ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท คลิกที่นี่
ค่าเล่าเรียน
ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตร 2 ปี คือ 220,000 บาทต่อคน โดยมีการบริหารจัดการเป็นโครงการบริการการศึกษา (เพื่อรับปริญญา) (โครงการพิเศษ) นักศึกษามีค่าใช้จ่ายหลัก ได้แก่ ค่าหน่วยกิต ๆ ละ 3,000 บาท และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ของวิทยาลัยนวัตกรรม ภาคการศึกษาละ 20,000 บาท ยกเว้นภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตรนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานต่างประเทศ และค่าตําราหรือหนังสือ
ติดต่อ
● ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิโรจน์ บุรณศิริ ผู้อำนวยการหลักสูตร MTT
02 623 5055-8 ต่อ 4106
● รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ อุตตมากร อาจารย์ประจำหลักสูตร
02 623 5055-8 ต่อ 4169
● รองศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ คงมาลัย อาจารย์ประจำหลักสูตร
02 623 5055-8 ต่อ 4162
● รองศาสตราจารย์ ดร.อัญณิฐา ดิษฐานนท์ อาจารย์ประจำหลักสูตร
02 623 5055-8 ต่อ 4153
สถานที่ทำการ
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น 1 และ 4
เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
ข้อมูลหลักสูตร
ภาษาไทย ชื่อเต็ม: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ชื่อย่อ: วท.ม. การบริหารเทคโนโลยี
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม: Master of Science Program in Technology Management
ชื่อย่อ: M.S. (Technology Management)
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารเอนกประสงค์ 3 ชั้น 1 และ 4 เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200