Shopping cart close

Notice: Function the_widget was called incorrectly. วิดเจ็ตต้องลงทะเบียนการใช้ register_widget() ก่อน ถึงจะสามารถแสดงผลได้ โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 4.9.0.) in /var/www/html/citu/wordpress/wp-includes/functions.php on line 6031
close

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MoU) ระหว่าง “วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CITU) – บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (ZIPMEX)”

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MoU) ด้านการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และผลิตบุคลากรทางด้านนวัตกรรมการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ร่วมลงนามโดย ผศ.ดร.ชยกฤต อัศวธิตานนท์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม และ ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด

ในการนี้มี รศ.ดร.คม คัมภิรานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ผศ.ดร.เวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI) วิทยาลัยนวัตกรรม คุณปานรวี มีทรัพย์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายนโยบายสาธารณะ คุณฐิติมา สุคนธรส นักสื่อสารประชาสัมพันธ์ประจำสำนักงานผู้บริหาร และคุณสิธาวัชร์ อัจฉริยะอนุชน นักวิเคราะห์ฝ่ายนโยบายสาธารณะ บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด เข้าร่วมพิธี ณ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

โดย ผศ.ดร.ชยกฤต อัศวธิตานนท์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า
“ยินดีที่วิทยาลัยนวัตกรรม และบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด มีความตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนทางวิชาการ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เข้ากับวิทยาลัย และการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด

โดยบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด เป็นองค์กรผู้นำทางด้านการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล แลกเปลี่ยนเหรียญดิจิทัล Blockchain ผ่านแพลตฟอร์มที่ล้ำสมัย ใช้งานง่าย สามารถสร้างความรู้ ให้ผู้คนสามารถมีโอกาสลงทุนได้ทุกที่ทุกเวลา

ในฐานะสถาบันการศึกษา วิทยาลัยให้ความสำคัญกับการวิจัย การเติบโตของตลาดดิจิทัล และองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมโดยตลอด ที่ผ่านมาเราได้เตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นสถาบันบ่มเพาะนวัตกรรมของไทย การได้มีโอกาสให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับบริษัท ผ่านความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยนี้ จะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นความสำเร็จด้านการศึกษาและการวิจัย นวัตกรรมดิจิทัลในอนาคต เราหวังให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับ Financial Literacy ความรู้ทางด้านการเงิน ความรู้ด้าน Fintech ซึ่งทำให้เราต้องการมืออาชีพที่ทำงานจริง ๆ มาอธิบาย และช่วยให้เห็นภาพในช่วงเปลี่ยนผ่านได้ชัดเจนขึ้น”

ด้าน ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด กล่าวว่า
“ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับทางวิทยาลัยนวัตกรรม เกี่ยวกับเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล เทคโนโลยี Blockchain และนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในทศวรรษนี้ หรือ Web 3.0 รู้สึกดีใจที่จะได้มีการแชร์ประสบการณ์ ความรู้ ให้กับทางวิทยาลัยนวัตกรรม ในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะเรียนรู้หลายสิ่งหลายจากทางวิทยาลัยนวัตกรรมด้วยเช่นกัน

หวังว่าทาง Zipmex กับวิทยาลัยนวัตกรรม จะได้มีการร่วมมือกันในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ การจัด Workshop การจัดสัมมนา หรือการให้โอกาสนักศึกษาได้มาฝึกงาน ได้มาเห็นว่าธุรกิจด้าน Fintech สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอย่างไร จะได้มีความรู้ที่ลึกซึ้งและเข้าใจอย่างแท้จริง และหวังว่าจะได้สร้างความเข้าใจในเรื่องของการออม การลงทุนระยะยาว สินทรัพย์ดิจิทัล และเทคโนโลยี Blockchain ให้นักศึกษามีความรู้ด้านนี้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย”